ประวัติความเป็นมา

หน่วยงานตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.๒๕๒๔ ซึ่งเป็นไปตามมติ ครม. เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๙ ที่ให้ส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เทียบเท่ารวมถึงจังหวัดทุกจังหวัด มีตำแหน่งอัตรากำลังเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในโดยเฉพาะ และให้ผู้ตรวจสอบภายในขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการ โดยในระยะแรกมีชื่อเรียกว่าหน่วยตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่ตรวจสอบทางบัญชีเพียงอย่างเดียว ต่อมางานตรวจสอบภายในมีบทบาทหน้าที่ครอบคลุมถึงการตรวจสอบ วิเคราะห์ และการประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงของส่วนราชการโดยมุ่งเน้นการให้ความเชื่อมั่นและให้คำปรึกษาแนะนำ จึงมีภาระงานหลายด้าน อาทิ ประเมินความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการดำเนินงาน สอบทานการปฏิบัติตามกฎระเบียบ สอบทานความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูล เป็นต้น  ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยฯ เป็นไปตามบทบาทหน้าที่ดังกล่าว สภามหาวิทยาลัยฯ จึงยกระดับหน่วยงานเป็นสำนักงานตรวจสอบภายใน โดยให้มีฐานะเทียบเท่ากองและขึ้นตรงต่ออธิการบดีตามประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ทั้งนี้สำนักงานตั้งอยู่ที่ ชั้น ๘ อาคารสารนิเทศ ๕๐ ปี

เมื่อครั้งปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๐ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีคำสั่งแต่งตั้งบุคลากรในแต่ละหน่วยงานๆ ละ ๓ ท่าน เป็นผู้ตรวจสอบภายในของหน่วยงานระดับ คณะ สถาบัน สำนัก ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี พัสดุ สารสนเทศ และด้านอื่นๆ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง โดยให้รายงานผลการตรวจสอบเบื้องต้น เสนอผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานปรับปรุงแก้ไขตามประเด็นข้อตรวจพบต่างๆ ได้ทันเวลา ส่งผลให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายมากขึ้น

ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ มหาวิทยาลัยฯ ได้มีนโยบายให้มีการพัฒนา ปรับปรุงระบบ การตรวจสอบในหน่วยงาน โดยเปลี่ยนจากผู้ตรวจสอบภายในมาเป็นคณะกรรมการตรวจสอบภายในประจำหน่วยงานระดับ คณะ สถาบัน สำนัก โดยกำหนด องค์ประกอบ คุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ การรายงานผล การดำเนินงาน และค่าตอบแทน ให้มีความชัดเจน คล่องตัว และมีความเป็นอิสระมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ระบบการตรวจสอบภายในนั้น มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เป็นประโยชน์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้หน่วยงานและมหาวิทยาลัยได้อย่างสูงสุด โดยมหาวิทยาลัยฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานตรวจสอบภายในเป็นผู้อบรมพัฒนาและถ่ายทอด องค์ความรู้ด้านการตรวจสอบภายในตามมาตรฐานสากล ให้แก่ ผู้ตรวจสอบภายในของหน่วยงานระดับ คณะ สถาบัน สำนัก อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตรวจสอบได้อย่างมืออำชีพ รวมทั้งสำนักงานฯ ได้มีส่วนร่วมใน การเข้าตรวจสอบ โดยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันปัจจุบันมีการคณะกรรมการตรวจสอบภายในประจำหน่วยงานระดับคณะ สถาบัน สำนัก รวมทั้งสิ้น จำนวน ๑๓๒ คน จาก ๔๒ หน่วยงำน ซึ่งนับได้ว่าเป็นกำลังเครือข่ายสำคัญของสำนักงานตรวจสอบภายใน ที่จะช่วยเพิ่มควำมเชื่อมั่นของข้อมูลทางการเงินให้แก่ผู้บริหารได้ใช้ในการวางแผนพัฒนา และเพิ่มคุณค่าให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เมื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๘ มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการตรวจสอบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒ เพื่อพิจารณาระบบการตรวจสอบของมหาวิทยาลัย โครงสร้างองค์กร โครงสร้างอัตรากำลัง การกำหนดค่าตอบแทนพิเศษ และจัดทำข้อบังคับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยการตรวจสอบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.๒๕๖๑ (แก้ไขถึง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๖๖) และสภามหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๓ ปี ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒

สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ สำนักงานตรวจสอบภายในได้ทบทวนและจัดทำกฎบัตรการตรวจสอบภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ ให้สอดคล้องกับข้อบังคับการตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ รวมทั้งสภามหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ชุดใหม่ ทดแทนชุดเก่าที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง ๓ ปี ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๖ นักงานตรวจสอบภายในได้ทบทวนและจัดทำกฎบัตรการตรวจสอบภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ ให้สอดคล้องกับข้อบังคับการตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ รวมทั้งสภามหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ชุดใหม่ ทดแทนชุดเก่าที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง ๓ ปี ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๖

วิสัยทัศน์ (Vision)

องค์กรที่ได้รับความเชื่อถือ และเชื่อมั่นในการตรวจสอบภายใน ภายใต้หลักธรรมมาภิบาล พัฒนางานตรวจสอบภายในที่ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับต่อสังคม

พันธกิจ (Mission)

๑. ให้ความเชื่อมั่น (Assurance Services) เป็นการตรวจสอบหลักฐานอย่างเที่ยงธรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งการประเมินผลอย่างอิสระ โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการ การกำกับ ดูแล การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมของหน่วยงานของมหาวิทยาลัย เช่น การตรวจสอบงบการเงิน ผลการดำเนินงาน การปฏิบัติตามกฎ หลักเกณฑ์และข้อบังคับความมั่นคงปลอดภัยของระบบต่างๆ และการตรวจสอบความถูกต้อง และเชื่อถือได้ของข้อมูลทางการเงินการบัญชี เป็นต้น

๒. งานบริการให้คำปรึกษา (Consulting Services) การบริการให้คำปรึกษาแนะนำ และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยลักษณะงานและขอบเขตของงานจะจัดทำข้อตกลงร่วมกับผู้รับบริการและมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับหน่วยงานของรัฐ โดยการปรับปรุงกระบวนการการกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมของมหาวิทยาลัยให้ดีขึ้น เช่น การให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องความคล่องตัวในการดำเนินงาน การออกแบบระบบงาน วิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติงานและการฝึกอบรม เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ( Objective )

๑. เพื่อให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ด้วยความเป็นอิสระ เที่ยงธรรม โดยเพิ่มมูลค่าในกระบวนการดำเนินงานการออกแบบระบบงาน วิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติงานและการฝึกอบรม เป็นต้น

๒. เพื่อให้มั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า มีการกำหนดและประเมินผลกระทบจากความเสี่ยงที่สำคัญนำไปสู่ระบบการควบคุมภายในที่ดีภายใต้การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า

๓. เพื่อให้มั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า ข้อมูลทางการเงิน การบริหารงานและการดำเนินการที่สำคัญมีความถูกต้อง เชื่อถือได้และทันเวลา